Header Ads

Header ADS

ประวัติของจังหวัดบุรีรัมย์


 ประวัติการก่อตั้งเมืองบุรีรัมย์ 

อ้างอิงจาก:www.youtube.com/watch?v=IkKWCEF17p88 ธ.ค. 2554 - อัปโหลดโดย suthepburiram

บุรีรัมย์


จังหวัดบุรีรัมย์


บุรีรัมย์ เมืองแห่งความรื่นรมย์ตามความหมายของชื่อเมือง เป็นเมืองแห่งปราสาทหิน ดินแดนแห่งอารยธรรมขอมโบราณ ตั้งอยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ห่างจากกรุงเทพฯโดยทางรถยนต์ประมาณ 410 กิโลเมตร จังหวัดบุรีรัมย์มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 10,321 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 21 อำเภอ และ 2 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ นางรอง ลำปลายมาศ ประโคนชัย พุทไธสง สตึก กระสัง บ้านกรวด คูเมือง ละหานทราย หนองกี่ ปะคำ นาโพธิ์ หนองหงส์ พลับพลาชัย ห้วยราช โนนสุวรรณ เฉลิมพระเกียรติ ชำนิ โนนดินแดง บ้านกรวด ละหานทราย บ้านใหม่ไชยพจน์ กิ่งอำเภอแคนดง และกิ่งอำเภอบ้านด่านในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับการอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยทวารวดี และที่สำคัญที่สุด คือ ปราสาทขอมน้อยใหญ่กว่า 60 แห่ง ซึ่งพบกระจายอยู่ทั่วไป อันแสดงถึงความรุ่งเรืองของบุรีรัมย์มาแต่ครั้งอดีตกาล รวมทั้งได้พบแหล่งโบราณคดีที่สำคัญ คือ เตาเผาภาชนะดินเผาสมัยขอม กำหนดอายุได้ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15-18 หลังจากสมัยของวัฒนธรรมขอมหรือเขมรโบราณแล้ว หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของบุรีรัมย์เริ่มมีขึ้นอีกครั้งตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยเป็นเมืองขึ้นของนครราชสีมา และปรากฏชื่อต่อมาในสมัยกรุงธนบุรี ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยบุรีรัมย์มีฐานะเป็นเมืองๆ หนึ่ง จนถึง พ.ศ. 2476 ได้มีการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคใหม่ จึงได้เปลี่ยนเป็นจังหวัดบุรีรัมย์มาจนถึงปัจจุบันนี้


การปกครองแบ่งออกเป็น 23 อำเภอ 189 ตำบล 2212 หมู่บ้าน
  1. อำเภอเมืองบุรีรัมย์
  2. อำเภอคูเมือง
  3. อำเภอกระสัง
  4. อำเภอนางรอง
  5. อำเภอหนองกี่
  6. อำเภอละหานทราย
  7. อำเภอประโคนชัย
  8. อำเภอบ้านกรวด
  9. อำเภอพุทไธสง
  10. อำเภอลำปลายมาศ
  11. อำเภอสตึก
  12. อำเภอปะคำ
  1. อำเภอนาโพธิ์
  2. อำเภอหนองหงส์
  3. อำเภอพลับพลาชัย
  4. อำเภอห้วยราช
  5. อำเภอโนนสุวรรณ
  6. อำเภอชำนิ
  7. อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์
  8. อำเภอโนนดินแดง
  9. อำเภอบ้านด่าน
  10. อำเภอแคนดง
  11. อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
Amphoe Buriram.png


การปกครองส่วนท้องถิ่น

อำเภอเมือง

อำเภอคูเมือง

อำเภอกระสัง

อำเภอนางรอง

อำเภอหนองกี่

อำเภอละหานทราย

อำเภอประโคนชัย

อำเภอบ้านกรวด

อำเภอพุทไธสง

อำเภอลำปลายมาศ

อำเภอสตึก

อำเภอปะคำ

อำเภอนาโพธิ์

อำเภอหนองหงส์

อำเภอพลับพลาชัย

อำเภอห้วยราช

อำเภอโนนสุวรรณ

อำเภอชำนิ

     
ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอต่างๆ
อำเภอระยะทาง (กม.)อำเภอระยะทาง (กม.)
ห้วยราช10หนองหงส์60
บ้านด่าน17พุทไธสง64
กระสัง30บ้านกรวด66
ลำปลายมาศ31เฉลิมพระเกียรติ70
คูเมือง34โนนสุวรรณ70
สตึก40ปะคำ78
ประโคนชัย44นาโพธิ์80
นางรอง55บ้านใหม่ไชยพจน์80
พลับพลาชัย58หนองกี่83
แคนดง59โนนดินแดง114
ชำนิ59ละหานทราย99





ภูมิประเทศ

    สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง พื้นที่ลาดจากทิศใต้ลงไปทิศเหนือ พื้นที่มีลักษณะเป็นลูกคลื่นน้อยเป็นที่ราบขั้นบันไดช่องเขาเกิดจากภูเขาไฟระเบิดเมื่อประมาณเก้าแสนถึงหนึ่งล้านปีเศษ ทำให้จังหวัดบุรีรัมย์มีลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญคือ
พื้นที่สูงและภูเขาทางตอนใต้
พื้นที่ลูกคลื่นลอนตื้นตอนกลางของจังหวัด
พื้นที่ราบลุ่มตอนเหนือริมฝั่งแม่น้ำมูล
ทุ่งกุลาร้องไห้

ทุ่งกุลาร้องไห้

ทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นที่ราบขนาดใหญ่มีพื้นที่ประมาณ 2 ล้านไร่ อยู่ในเขตจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดร้อยเอ็ด การที่ได้ชื่อว่าทุ่งกุลาร้องไห้ มีเรื่องเล่าสืบกันมาว่า ชนเผ่ากุลาซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยจากเมืองเมาะตะมะ ประเทศพม่า ได้เดินทางมาค้าขายผ่านทุ่งแห่งนี้ ต้องใช้เวลาเดินทางหลายวัน ไม่พบหมู่บ้านใด ๆ เลย น้ำก็ไม่มีดื่ม ต้นไม้ก็ไม่มีที่จะให้ร่มเงา มีแต่ทุ่งหญ้าเต็มไปหมด พื้นดินเป็นทราย เดินทางยากลำบากเหมือนอยู่กลางทะเลทรายทำให้คนพวกนี้ถึงกับร้องไห้ ในอดีตทุ่งกุลาร้องไห้ในฤดูแล้ง พื้นที่ส่วนใหญ่จะแห้งแล้งมาก ส่วนในฤดูฝนน้ำจะท่วมทุกปี ใต้พื้นดินลงไปเป็นน้ำเค็ม ไม่สามารถทำการเกษตรได้ หลังจากที่ได้มีการพัฒนาที่ดินแล้ว ทุ่งกุลาร้องไห้ได้กลายเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่สำคัญของประเทศ และกลายเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่มีชื่อเสียงของไทย

ภูมิอากาศ

ภูมิอากาศในจังหวัดบุรีรัมย์ มีอยู่ 3 ฤดู คือ
ฤดูร้อน ปลายเดือน ก.พ. - พ.ค. มีอุณหภูมิสูงสุด 36 ซ. ในเดือน เม.ย.
ฤดูฝน เดือน มิ.ย. - ก.ย. เนื่องจากมีเทือกเขาพนมดงรักขวางกั้นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จึงได้รับปริมาณน้ำฝนไม่มากนัก
ฤดูหนาว เริ่มประมาณเดือน ต.ค. - ม.ค. มีอากาศหนาว และแห้งแล้ง อุณหภูมิต่ำสุด 11 ซ.

สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดบุรีรัมย์


อำเภอเมือง
ศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้ เป็นแหล่งเก็บรวบรวม และจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ อันมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งเป็นแหล่งที่จะค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โบราณคดีและศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น ศูนย์แห่งนี้เปิดเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2536 เปิดให้เข้าชมได้ทุกวันในเวลาราชการ
พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ ที่พสกนิกรชาวบุรีรัมย์ได้ร่วมกันสร้างขึ้น ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ แห่งผู้สถาปนาเมืองบุรีรัมย์ และเพื่อเป็นอนุสรณ์สักการะ รวมทั้งศูนย์รวมจิตใจที่แสดงถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และมหาจักรีบรมราชวงค์
วนอุทยานเขากระโดง เขากระโดงเป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว ปากปล่องปะทุเห็นได้ชัดเจน รอบบริเวณแวดล้อมด้วยป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าขนาดเล็กโดยเฉพาะนกนานาชนิดบนเขากระโดง ยังมีโบราณสถานสมัยขอม รอยพระพุทธบาทจำลอง และพระพุทธรูปขนาดใหญ่เป็นที่เคารพสักการะ ของคนในท้องถิ่น นักท่องเที่ยวนิยมขึ้นไปชมทิวทัศน์ของตัวเมืองบุรีรัมย์ และไหว้พระเพื่อเป็นสิริมงคล
อ่างเก็บน้ำห้วยตลาด พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ เป็นแหล่งดูนกน้ำแห่งหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์ มีพื้นที่ 4,434 ไร่ ซึ่งมีนกกระสาปากเหลือง เป็นนกที่มีค่าหายากอาศัยอยู่ นอกจากนี้ยังพบนกกระสาดำ นกกาบบัว นกอ้ายงั่ว เป็ดเทา และนกน้ำต่างๆ อีกมากมาย เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และสามารถปั่นจักรยานชมทัศนีย์ภาพรอบอ่างเก็บน้ำห้วยตลาดได้
อ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ เป็นทะเลสาบน้ำจืด สร้างขึ้นเพื่อการชลประทานและการประปา มีพื้นที่ 3,876 ไร่ อยู่ใน ต.บ้านบัว ต.เสม็ด และ ต.สะแกโพรง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ มีไม้พื้นเมืองยืนต้นร่มรื่น มีทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพตามฤดูกาลมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากกว่า 170 ชนิด จึงเป็นอีกสถานที่หนึ่งที่เหมาะสำหรับการดูนกและพักผ่อน
โครงการชลประทานบุรีรัมย์ เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ เป็นทะเลสาบน้ำจืด สร้างขึ้นเพื่อการชลประทานและการประปา มีพื้นที่ 3,876 ไร่ อยู่ใน ต.บ้านบัว ต.เสม็ด และ ต.สะแกโพรง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ มีไม้พื้นเมืองยืนต้นร่มรื่น มีทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพตามฤดูกาลมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากกว่า 170 ชนิด จึงเป็นอีกสถานที่หนึ่งที่เหมาะสำหรับการดูนกและพักผ่อน
นิว ไอ-โมบาย สเตเดี้ยม เป็นสนามฟุตบอลที่ได้มาตราฐานแห่งแรกและแห่งเดียวใจประเทศไทยที่ไม่มีลู่วิ่งคั่นสนามและผ่านมาตราฐานสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ(FIFA) สามารถจัดเกมการแข่งขันระดับชาติได้ เป็นสนามที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งของเมืองไทยเลยทีเดียว ปัจจุบันเป็นสวนามเหย้าของทีม บุรีรัมย์ PEA และ บุรีรัมย์ FC
ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองบุรีรัมย์ ที่มีคูคลองศักดิ์สิทธิ์ ศาลเจ้าจีน อยู่ภายใน
https://sites.google.com/site/.../prawati-khxng-canghwad-buriramy


ภูเขาไฟจังหวัดบุรีรัมย์


        บุรีรัมย์เป็นจังหวัดที่พบซากภูเขาไฟมากที่สุดในประเทศไทย ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว จึงกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวได้แวะเวียนไปเยี่ยมชม นอกจากนี้ชาวบ้านยังนำดินภูเขาไฟซึ่งมีแร่ธาตุต่าง ๆ มาย้อมผ้าฝ้ายและผ้าไหม จึงนุ่มและมีสีสวยของดินภูเขาไฟ กลายเป็นสินค้าหายากหนึ่งเดียวในประเทศไทยอีกด้วย

        โดยซากภูเขาที่พบนั้น ได้แก่ ภูเขาไฟกระโดง ภูเขาไฟพนมรุ้ง ภูเขาไฟอังคาร ภูเขาไฟหลุบหรือภูหลุบ ภูเขาไฟไปรบัด และภูเขาไฟเขาคอก ซึ่งภูเขาไฟกระโดงอยู่ในเขตวนอุทยานเขากระโดง มีพื้นที่ราว 1,450 ไร่ มีอายุประมาณ 300,000-900,000 ปี ตัวปากปล่องเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว ยอดเนินเขาเป็นขอบปล้องล้อมรอบจนมีลักษณะเป็นสระน้ำ เราสามารถเดินลงไปเที่ยวชมหลุมที่เกิดจากการปะทุได้อย่างสะดวกสบาย ไม่ต้องกลัวว่าจะระเบิดขึ้นมาอีก เพราะภูเขาไฟในบุรีรัมย์ทั้งหมดดับสนิทไปนานแล้ว  ส่วนด้านบนภูเขาเป็นที่ประดิษฐานของพระสุภัทรบพิตรมีขนาดหน้าตักกว้าง 12 เมตร สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2512 โดยหลวงพ่อบุญมา ปัญญาปโชโต อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทเขากระโดง และนายสุรวุฒิ บุญญานุสาสน์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมกับชาวบุรีรัมย์ผู้มีจิตศรัทธา มีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ในพระเศียรขององค์พระ เป็นสถานที่ศรัทธาของชาวบุรีรัมย์

        ภูเขาไฟพนมรุ้ง อยู่ในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอประโคนชัย และอำเภอนางรอง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 70 กิโลเมตร มีลักษณะรูปร่างเป็นเนินคล้ายหลังเต่าวางตัวเป็นแนวเหนือ-ใต้ ซึ่งทางทิศใต้เป็นที่ตั้งของปราสาทหินพนมรุ้ง ในแอ่งปะทุมีน้ำขังตลอดปี เรียกว่า “ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟ” (Crater lake) สำหรับภูเขาไฟเขาอังคาร อยู่ในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติและอำเภอละหานทราย เป็นเนินเขาแผ่กว้าง วางตัวทอดยาว ซึ่งเนินเขาที่สูงที่สุดชาวบ้านเรียกว่า “เขาป่าช้า” ส่วน ภูเขาไฟหลุบหรือภูหลุบ อยู่ในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติเช่นกัน มีรูปร่างยาวในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงใต้ มีซากปล่องปะทุระเบิดเป็นรูปโค้ง บนยอดเขามีซากโบราณสถานอยู่ด้วย ภูเขาไฟไปรบัด เป็นเขาเตี้ย ๆ อยู่ในเขตอำเภอประโคนชัยและอำเภอเฉลิมพระเกียรติ เป็นเนินเขามีลักษณะเกือบกลม เป็นที่ตั้งปราสาทโบราณ 2 หลัง ได้แก่ ปราสาทไปรบัด 1 และปราสาทไปรบัด 2 และภูเขาไฟเขาคอกอยู่ในเขตตำบลเขาคอก อำเภอประโคนชัย อยู่ห่างจากตัวจังหวัด ประมาณ 66 กิโลเมตรจากการที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติมีภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้วหลายลูก กลุ่มสตรีทอผ้าไหม ผ้าฝ้าย บ้านเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จึงได้นำดินภูเขาไฟที่หาได้ในท้องถิ่นมาเป็นวัตถุดิบในการย้อมสีผ้าฝ้าย ซึ่งเป็นสีจากธรรมชาติ ได้แก่ สีน้ำตาลอ่อนและน้ำตาลแดง เริ่มแรกนำมาสวมใส่เองเพราะชาวบ้านมีความเชื่อว่าดินภูเขาไฟสวมใส่สบาย ต่อมาเริ่มนำมาประยุกต์เป็นวัตถุดิบในการทอจำหน่าย ทำให้ได้ผ้าที่นุ่มสวมใส่สบาย สีคงทนเพราะเป็นสีจากธรรมชาติ แตกต่างจากที่อื่นที่ใช้สีเคมีในการย้อม จึงเหมาะสำหรับคนที่แพ้สีเคมี


www.gotoknow.org › ... › pupa › สมุด › ภูเขาไฟจังหวัดบุรีรัมย์

ปัจจุบันผ้าฝ้ายย้อมดินภูเขาไฟกลายเป็นสินค้าขึ้นชื่อของอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ที่ช่วยสร้างรายได้เสริมให้แก่สมาชิกในกลุ่มหลังจาก

    ฤดูทำนาแล้ว เพราะขั้นตอนการย้อมผ้าก็ไม่ยาก ส่วนวัตถุดิบก็หาได้ ใกล้ ๆ ตัว หลังจากย้อมเสร็จแล้วก็นำมาทอเป็นผ้านุ่ง ผ้าพันคอเพื่อจำหน่ายเป็นของฝาก ที่สำคัญได้มีการยื่นจดลิขสิทธิ์ผ้าฝ้ายจากดินภูเขาไฟเป็นผ้าเอกลักษณ์ของอำเภอเฉลิมพระเกียรติเพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ด้วย หากใครมีเก็บไว้เป็นที่ระลึกก็น่าภูมิใจเพราะเป็นสินค้าหนึ่งเดียวในไทยที่หายาก

ไม่มีความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.